หัวข้อ   “ การตื่นตัวของเยาวชนในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) 2558
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 เนื่องในวันที่ 20 กันยายน เป็นวันเยาวชนแห่งชาติ ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัย
กรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) ได้สำรวจความคิดเห็นเยาวชนอายุ 15-24 ปี ในพื้นที่กรุงเทพ
มหานคร จำนวน 1,166 คน เรื่อง “การตื่นตัวของเยาวชนในการเข้าสู่ประชาคม
เศรษฐกิจอาเซียน (AEC) 2558
”  พบว่า เยาวชนร้อยละ 66.0 ระบุว่า ตัวเองยังมี
ความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียนไม่เพียงพอ สำหรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจ
อาเซียน (AEC) ในปี 2558
  ขณะที่ร้อยละ 14.2 ระบุว่ามีความรู้เพียงพอแล้ว
 
                 ทั้งนี้เมื่อให้ประเมินศักยภาพของประเทศไทยในเวลานี้ว่าอยู่ในระดับ
ใดของประเทศในกลุ่มอาเซียน เยาวชนร้อยละ 67.2 ระบุว่าอยู่ในระดับกลางๆ
ขณะที่ร้อยละ 18.2 ระบุว่า อยู่ในระดับท้ายๆ และมีเพียงร้อยละ 14.6 ที่ระบุว่าอยู่ในระดับ
ต้นๆ   สำหรับประเทศสมาชิกประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ที่เยาวชนเห็นว่าเป็น
คู่แข่งที่น่ากลัวและน่าจับตามองที่สุดสำหรับประเทศไทย คือ ประเทศสิงคโปร์
(ร้อยละ38.5)
  ประเทศเวียดนาม (ร้อยละ 21.9)  และประเทศมาเลเซีย (ร้อยละ11.3)
ตามลำดับ
 
                 ส่วนความเชื่อมั่นในศักยภาพของตนเองและเยาวชนคนไทยคนอื่นๆ ว่าจะสามารถแข่งขันหรือสู้กับ
เยาชนของประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซียนได้หรือไม่พบว่า เยาวชนร้อยละ 49.0 ระบุว่า เชื่อมั่นว่าสู้ได้
   ขณะที่
ร้อยละ 13.6 เชื่อว่าสู้ไม่ได้แน่นอน  และร้อยละ 37.4 ระบุว่าไม่แน่ใจว่าจะสู้ได้
 
                 เมื่อถามว่าสถาบันการศึกษามีการส่งเสริมหรือให้ความรู้เกี่ยวกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
อย่างไรบ้าง
  ร้อยละ 30.8 บอกว่า มีการสอดแทรกเรื่องราว AEC ในการเรียนการสอน ร้อยละ 26.1 บอกว่ามีการ
เพิ่มและเน้นการเรียนวิชาภาษาอังกฤษมากขึ้น และร้อยละ 22.9 บอกว่ามีการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับ AEC เช่น จัดนิทรรศการ
แข่งขันตอบปัญหา ฯลฯ
 
                  ทั้งนี้เยาวชนร้อยละ 74.8 เชื่อว่าการเข้าร่วมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะได้ผลดีมากกว่าผลเสีย
ขณะที่ร้อยละ 25.2 เชื่อว่าจะได้รับผลเสียมากกว่าผลดี ส่วนเรื่องที่เป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้ประเทศไทยเสียเปรียบ
ประเทศสมาชิกประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนคือ ความขัดแย้งทางการเมือง (ร้อยละ 29.6)
  รองลงมาคือ การขาด
ทักษะการใช้ภาษาอังกฤษของคนไทย (ร้อยละ 26.7)  และการทุจริตคอร์รัปชั่น (ร้อยละ 18.8)
 
                  สำหรับเรื่องที่เยาวชนอยากให้ภาครัฐสนับสนุน/ส่งเสริมมากที่สุดเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม
เข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน คือ การสอนและติวภาษาอังกฤษเพื่อใช้ในการสื่อสาร (ร้อยละ 58.7)

รองลงมาคือ ปรับปรุงการเรียนการสอนให้มีคุณภาพและให้โอกาสทางการศึกษาสำหรับเยาวชน (ร้อยละ 18.1)   และให้
ความรู้และการเตรียมตัวเรื่องการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ร้อยละ 12.2)
 
                  ดังรายละเอียดในตารางต่อไปนี้
 
             1. ความคิดเห็นของเยาวชนต่อความรู้ของตัวเองเกี่ยวกับประชาคมอาเซียนว่ามีเพียงพอสำหรับ
                 การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ปี 2558 หรือไม่


 
ร้อยละ
มีเพียงพอแล้ว
14.2
ยังไม่เพียงพอ
66.0
ไม่แน่ใจ
19.8
 
 
             2. ศักยภาพของประเทศไทยในความคิดของเยาวชนว่าในเวลานี้อยู่ในระดับใดเมื่อเปรียบเทียบกับ
                 ประเทศอื่นในกลุ่มอาเซียน


 
ร้อยละ
อยู่ในระดับต้นๆ
14.6
อยู่ในระดับกลางๆ
67.2
อยู่ในระดับท้ายๆ
18.2
 
 
             3. ประเทศสมาชิกประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC) ที่เป็นคู่แข่งที่น่ากลัวและน่าจับตามองที่สุด
                 สำหรับ ประเทศไทย ในสายตาของเยาวชน คือ

 
ร้อยละ
ประเทศสิงคโปร์
38.5
ประเทศเวียดนาม
21.9
ประเทศมาเลเซีย
11.3
ประเทศพม่า
5.8
ประเทศลาว
5.5
ประเทศฟิลิปปินส์
4.4
ประเทศอินโดนีเซีย
4.2
ประเทศบรูไน
3.9
ประเทศกัมพูชา
2.2
ไม่มี
2.3
 
 
             4. ความเชื่อมั่นในศักยภาพของตนเองและเยาวชนคนไทยคนอื่นๆ ว่าจะสามารถแข่งขันหรือสู้กับ
                 เยาวชนของประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซียนได้ หรือไม่

 
ร้อยละ
เชื่อมั่นว่าสู้ได้
49.0
เชื่อว่าสู้ไม่ได้แน่นอน
13.6
ไม่แน่ใจว่าจะสู้ได้
37.4
 
 
             5. การส่งเสริมหรือให้ความรู้เกี่ยวกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ของสถาบันการศึกษา
                 พบว่า

 
ร้อยละ
มีสอดแทรกเรื่องราว AEC ในการเรียนการสอน
30.8
เพิ่ม/เน้นการเรียนวิชาภาษาอังกฤษมากขึ้น
26.1
จัดกิจกรรมเกี่ยวกับAEC เช่น จัดนิทรรศการ แข่งขันตอบปัญหา ฯลฯ
22.9
สอนภาษาของประเทศในกลุ่มอาเซียน
14.8
ไม่มีการให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องราวของ AEC เลย
5.4
 
 
             6. ความคิดเห็นเยาวชนต่อการได้รับผลดีหรือผลเสีย จากการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)
                 ใน ปี 2558 ว่าอะไรจะมากกว่ากัน

 
ร้อยละ
ได้รับผลดีมากกว่า
( โดยให้เหตุผลว่า จะได้เปิดกว้างทางการศึกษา ทำให้สนใจเรียนรู้ภาษา
   มากขึ้น ทำให้เกิดการตื่นตัวและพัฒนาตัวเองมากขึ้น ได้โอกาสทำงาน
   ต่างประเทศ และแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างกัน ฯลฯ )
74.8
ได้รับผลเสียมากกว่า
( โดยให้เหตุผลว่า คนไทยอาจจะหางานทำได้ยากขึ้น ถูกเอาเปรียบ
   คนไทยไม่เก่งภาษาอังกฤษ ฯลฯ )
25.2
 
 
             7. เรื่องที่เป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้ประเทศไทยเสียเปรียบประเทศสมาชิกประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
                 คือ

 
ร้อยละ
ความขัดแย้งทางการเืมือง
29.6
การขาดทักษะการใช้ภาษาอังกฤษของคนไทย
26.7
การทุจริตคอร์รัปชั่น
18.8
ความรู้และการศึกษาของคนไทยที่ยังอยู่ในระดับต่ำ
9.0
คนไทยไม่มีความสามัคคี
8.5
คนไทยไม่มีความตื่นตัวในเรื่องของ AEC
3.5
ขาดความเอาใจใส่และให้ความรู้จากภาครัฐเรื่อง AEC
2.6
ปัญหาภัยธรรมชาติ
1.3
 
 
             8. เรื่องที่เยาวชนต้องการให้ภาครัฐสนับสนุน/ส่งเสริมมากที่สุดเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมเข้าสู่
                 ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC) 5 อันดับแรก คือ (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)

 
ร้อยละ
การสอนและติวภาษาอังกฤษเพื่อใช้ในการสื่อสาร
58.7
ปรับปรุงการเรียนการสอนให้มีคุณภาพ และการให้โอกาสทางการศึกษา
สำหรับเยาวชน
18.1
ให้ความรู้และการเตรียมตัวเรื่องการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
12.2
การสอนภาษาและวัฒนธรรมของประเทศสมาชิก และให้มีการส่งนักเรียน
แลกเปลี่ยนระหว่างประเทศสมาชิก
5.3
ให้มีการพัฒนาความรู้ความสามารถฝีมือแรงงานและให้สำรองงานสำหรับ
คนไทยไว้ก่อน
1.1
 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                  เพื่อสอบถามความคิดเห็นของเยาวชนในกรุงเทพมหานคร เกี่ยวกับการที่ประเทศไทยจะเข้าสู่ประชาคม
เศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558 ในเรื่องของความรู้ที่ได้รับ ความเชื่อมั่นในศักยภาพของประเทศและของเยาวชนไทย
เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศสมาชิก รวมถึงการส่งเสริมและสนับสนุนเยาวชนเรื่องต่างๆจากภาครัฐ เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ทั้งนี้เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นเยาวชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ และเป็น
แนวทางในการพัฒนาต่อไป
 
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากเยาวชนอายุ 15 - 24 ปี ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร โดยสุ่มประชากร
เป้าหมายที่จะสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,166 คน เป็นเพศชายร้อยละ 49.6 และเพศหญิงร้อยละ
50.4
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม
ที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) ในส่วนของ และคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบ
ระบุคำตอบเองโดยอิสระ (Open Form) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและ
ประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  13 - 17 กันยายน 2555
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 20 กันยายน 2555
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:    
             ชาย
578
49.6
             หญิง
588
50.4
รวม
1,166
100.0
อายุ:
 
 
             15 – 17 ปี
350
30.0
             18 – 20 ปี
399
34.2
             21 – 24 ปี
417
35.8
รวม
1,166
100.0
การศึกษาปัจจุบัน:
 
 
             มัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช.
459
39.3
             ปวส./อนุปริญญา/ปริญญาตรี
625
53.6
             สูงกว่าปริญญาตรี
16
1.4
             จบการศึกษา
66
5.7
รวม
1,166
100.0
สังกัดสถาบันการศึกษา:
 
 
             รัฐบาล
691
59.2
             เอกชน
475
40.8
รวม
1,166
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776